เมนู

คามิมรรค ) เพราะสละคืน (เด็ดขาด ) ด้วยมรรคที่ 4 (อรหัตตมรรค).
อีกอย่างหนึ่ง พึงทำอธิบายประกอบความในพระดำรัสตอนนี้ (อีก)
อย่างนี้ว่า ปุถุชนพึงหมายรู้ปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุด้วยตัณหาเหล่าใด
เพราะความสิ้นไปแห่งตัณหาเหล่านั้น ปุถุชนพึงสำคัญซึ่งปฐวีธาตุด้วยตัณหา
เหล่าใด เพราะสำรอกเสียได้ซึ่งตัณหาเหล่านั้น ปุถุชนพึงสำคัญในปฐวี
ธาตุด้วยตัณหาเหล่าใด เพราะดับตัณหาเหล่านั้นเสียได้ ปุถุชนพึงสำคัญ
จากปฐวีธาตุด้วยตัณหาเหล่าใด เพราะสละทิ้งซึ่งตัณหาเหล่านั้นเสียได้
ปุถุชนพึงสำคัญว่า ปฐวีธาตุของเราด้วยตัณหาเหล่าใด เพราะสละคืนตัณหา
เหล่านั้นเสียได้ อีกอย่างหนึ่ง ปุถุชนพึงสำคัญปฐวีธาตุด้วยตัณหาเหล่าใด
เพราะความสิ้นไปแห่งตัณหาเหล่านั้น ฯ ลฯ ปุถุชนพึงยินดีปฐวีธาตุด้วย
ตัณหาเหล่าใด เพราะสละคืนตัณหาเหล่านั้นเสียได้. (ความทั้งสองนี้ )
ไม่มีอะไรที่ขัดแย้งกัน.
บทว่า อนุตฺตรํ คือเว้นจากบุคคลผู้ยิ่งกว่า ได้แก่ประเสริฐกว่า
คนอื่นทั้งหมด.

ความหมายของคำว่า "โพธิ"


บทว่า สมฺมาสมฺโพธึ แปลว่า การตรัสรู้โดยชอบและด้วยพระ
องค์เอง อีกอย่างหนึ่ง (หมายความว่า) การตรัสรู้ที่บัณฑิตสรรเสริญ
และดี. บทว่า โพธิ หมายถึง ต้นไม้บ้าง มรรคบ้าง สัพพัญญุตญาณ
บ้าง นิพพานบ้าง. อธิบายว่า ต้นไม้ เรียกว่า โพธิ (เช่น) ในอาคต-
สถานที่ว่า โพธิรุกฺขมูเล ปฐมาภิสมฺพุทฺโธ (แปลว่า แรกตรัสรู้
ณ โคนต้นโพธิ์ ) และว่า อนฺตรา จ โพธึ อนฺตรา จ คยํ